แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว

1.พิพิธภัณฑ์สิรินธร
  
     พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ที่ดีที่สุดในอาเซียน ภายในอาคารจัดแสดงเป็นนิทรรศการถาวร นำเสนอเรื่องราวของไดโนเสาร์ได้อย่างน่าตื่นเต้น ครบรส ผ่านเทคโนโลยีการนำเสนอที่ทันสมัย น่าจะเป็นที่ถูกอกถูกใจของเหล่าเด็ก ๆ ที่ต้องการชมชีวิตและความเป็นอยู่ของสัตว์โลกดึกดำบรรพ์ชนิดนี้ เพราะเพียงแค่ก้าวแรกที่คุณเข้ามาในพิพิธภัณฑ์ คุณจะได้พบกับหุ่นจำลองไดโนเสาร์ "สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส" ที่ยืนโดดเด่นแยกเขี้ยวอ้าปากกว้าง มีห้องแสดงฟอสซิลจำลองที่พบในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลก โครงกระดูกไดโนเสาร์ที่พบในกาฬสินธุ์ ในสภาพที่สมบูรณ์ทั้งตัว 
     พิพิธภัณฑ์แห่งนี้นับได้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่บรรจุขุมทรัพย์ความรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของไทยเลยก็ว่าได้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 043 871 613, 043 871 615, 043 871 616

2.ปราสาทรวงข้าว ประเพณีบุญคูนลาน
     ขึ้นชื่อว่าความเชื่อคนไทยมีความเชื่อมากมายจนเล่าไม่รู้จักหมดเพราะเป็นประเทศที่มีชนกลุ่มน้อย หลายกลุ่มมากๆ มาอยู่รวมกัน เอาแค่เรื่องข้าวอย่างเดียวเราก็มีความเชื่อการจะทำนาก็มีหลายขั้นตอน แต่เก่าก่อนมาเรามีพิธีหลายอย่างในระหว่างทำนาเพื่อเป็นการบูชาพระแม่โพสพเช่น พิธีกรรมก่อนการหว่านข้าว การปักดำข้าว หรือพิธีกรรมรับขวัญการตั้งท้อง ก่อนการเกี่ยวข้าว และพิธีอันเชิญแม่โพสพเข้ายุ้งฉางเป็นต้น พิธีเหล่านั้นแม้ส่วนใหญ่แทบจะสูญหายไปจนหาดูไม่ได้แล้วในปัจจุบันแต่หลายๆ พิธีการก็ยังถูกสืบสานอนุรักษ์เอาไว้ และประยุกต์ไปตามยุคสมัยด้วยจุดประสงค์หลายอย่างจนวันนี้เรามีประเพณีอย่างหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงลือเลื่องไปทั่วทั้งในประเทศและต่างประเทศ คือพิธีที่เรียกว่า สู่ขวัญข้าวบุญคูณลาน เป็นพิธีที่จะชาวนาจะทำหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวและนวดข้าวชาวนาในอดีตเกี่ยวข้าวแล้วจะนวดด้วยวิธีการใช้แรงงานฟาดฟ่อนมัดรวงข้าวให้เม็ดข้าวหลุดออกจากรวงข้าว ข้าวที่ได้ก็จะกองสูงใหญ่อยู่ในลานนวดข้าวเป็นลักษณะที่ชาวนาเรียกว่า คูณลาน ซึ่งอาจจะตั้งใจเรียกการทำบุญในครั้งนี้ว่าให้คราวหน้าทำนาได้ผลดียิ่งขึ้นก็เป็นได้

    ในยุคหลังๆ เมื่อถึงเวลาทำบุญคูณลานมีชาวนาหลายบ้านที่ยังไม่ได้นวดข้าวเพราะข้าวปลูกไม่พร้อมกันทั้งหมด โตไม่พร้อมกัน ออกรวงไม่พร้อมกัน ชาวนาที่ยังไม่ได้นวดข้าวเอาข้าวมาทั้งรวงเพื่อร่วมงานบุญที่วัด ก็ได้เลยได้มีความคิดที่จะนำรวงข้าวเหล่านี้มาประดิษฐ์เป็นอะไรที่สวยงามยิ่งใหญ่ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2537 นายสมนึก บัวแพ พัฒนาการอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ก็ได้ริเริ่มที่จะนำรวงข้าวของชาวนาที่มารวมกันที่วัดสร้างปราสาทขึ้นปรากฏว่าปราสาทที่สร้างด้วยรวงข้าวออกมางดงามตระการตาก็เลยกลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนารูปแบบปราสาทรวงข้าวสืบมาจนถึงทุกวันนี้ ยิ่งไปกว่าการทำบุญตามประเพณีที่สืบทอดต่อกันมานานแล้ว ปราสาทรวงข้าวกลายเป็นจุดที่ดึงนักท่องเที่ยวมาเที่ยวในหมู่บ้านเป็นจำนวนมากทุกปี ถ้าใครไปชมปราสาทรวงข้าวที่กาฬสินธุ์จะได้เห็นปราสาทรวงข้าว 12 หลัง จาก 12 หมู่บ้านที่ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจกันสร้างและมีการประกวดชิงรางวัลกันด้วย

3.กลุ่มทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน กาฬสินธุ์
     กลุ่มทอผ้าไหมแพรวา บ้านโพน อยู่ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ 70 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 227 แวะชมผ้าทอมือ ศิลปหัตถกรรมทอผ้าที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นที่ถือว่าหาได้ยากแล้วในไทย ฝีมือการทอละเอียดละออจากชาวบ้านหมู่บ้านโพนทอง ซึ่งเป็นแหล่งทอผ้าที่ขึ้นชื่อของจังหวัดกาฬสินธุ์ มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ผืนผ้างามทรงคุณค่าแก่การสะสมหรือนุ่งห่มเพราะเป็นผ้าไทยที่หาได้ยาก
     แพรวา เป็นผ้าทอมือของชาวผู้ไทในจังหวัดกาฬสินธุ์ มีลักษณะเช่นเดียวกับผ้าสไบ แต่มีสีสัน ลวดลาย ที่หลากหลายมากมาย และนิยมทอด้วยไหมทั้งผืน การทอผ้าแพรวามีมาพร้อมกับวัฒนธรรมของชาวภูไท ซึ่งเป็นชนกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในบริเวณแคว้นสิบสองจุไทย (ดินแดนส่วนเหนือของลาว และ เวียดนาม ซึ่งติดต่อกับดินแดนภาคใต้ของจีน) อพยพเคลื่อนย้ายผ่านเวียดนาม ลาว แล้วข้ามฝั่งแม่น้ำโขงเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่แถบเทือกเขาภูพานทางภาคอีสานของไทย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร โดยยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ การแต่งกาย และการทอผ้าไหมที่มีภูมิปัญญาในการทอด้วยการเก็บลายจากการเก็บขิด และการจก ที่มีลวดลายโดดเด่น ที่มีภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาก บรรพบุรุษและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ประกอบการเลือกใช้เส้นไหมน้อย หรือไหมยอดที่มีความเลื่อมมัน ผ้าไหมแพรวาถือว่าเป็นของล้ำค่า ผ้าแพรวาจึงเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มชนที่สืบเชื้อสายมาจาก กลุ่มภูไทและมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวผู้ไทย จังหวัดกาฬสินธุ์อย่างแท้จริง

4.สะพานเทพสุดา
     สะพานเทพสุดา เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 2 ช่องจราจร ข้ามเขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ จากบริเวณแหลมโนนวิเศษ ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ ถึงบริเวณเกาะมหาราช ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2549 ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 498,850,000 บาท ความยาว 2,040 เมตร ถนนต่อเชื่อมโครงการผิวจราจรกว้าง 7 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 2.50 เมตร ภายใต้การกำกับดูแลของกรมทางหลวงชนบท สร้างเสร็จในเดือนธันวาคม 2553 ถือเป็นสะพานข้ามน้ำจืดที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

5.พระธาตุยาคู
     ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย ส่วนฐานของตัวพระธาตุมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม ประดับด้วยปูนปั้น เป็นสถาปัตยกรรมสมัยทวาราวดี ถัดขึ้นมาเป็นเจดีย์ทรงแปดเปลี่ยม เป็นรูปแบบเจดีย์ในสมัยอยุธยา ส่วนองค์ระฆังและส่วนยอด เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ นับเป็นองค์พระธาตุที่มีการผสานรูปแบบการก่องสร้างไว้ถึง 3 สมัยด้วยกัน อันเกิดจากการบูรณะองค์พระธาตุในช่วงเวลาต่างยุคและสมัย ทำให้ปรากฏลักษณะสถาปัตยกรรมออกมาในลักษณะดังกล่าว ภายในของพระธาตุองค์นี้ ชาวบ้านเชื่อกันว่ามีอัฐิของพระเถระที่ชาวเมืองเคารพนับถือบรรจุอยู่ ใครที่แวะมากาฬสินธุ์อย่าลืมมาสักการะพระธาตุยาคูเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตกันนะคะ

6.อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร (ท้าวโสมพะมิตร)
     อนุสาวรีย์พระยาพิชัยสุนทร ผู้ซึ่งเป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์คนแรก โดยอนุสาวรีย์ดังกล่าวสร้างขึ้นจากการสละทรัพย์ของชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อแสดงกตเวทิตาต่อผู้ให้กำเนิดเมืองกาฬสินธุ์ กล่าวได้ว่าอนุสาวรีย์แห่งนี้ เป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองกาฬสินธุ์แทบทุกคน รวมถึงจังหวัดใกล้เคียงที่มักแวะเวียนเข้ามากราบไหว้ หรือบนบานศาลกล่าวอธิษฐานต่อองค์อนุสาวรีย์กันอย่างไม่ขาดสาย เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตตนเองและครอบครัว นับว่าเป็นอนุสาวรีย์ที่ทรงคุณค่าและเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองกาฬสินธุ์มาช้านาน

7.เขื่อนลำปาว
     หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์ มีลักษณะเป็นเขื่อนดิน ที่สร้างขึ้นเพื่อบรรเทาอุทกภัยและเพื่อการเกษตรของชาวบ้าน ปัจจุบันเขื่อนลำปาวได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ มีธรรมชาติและสายน้ำที่สวยงาม ขณะเดียวกันบริเวณอาคารผันน้ำเขื่อนลำปาว ยังมีร้านค้าที่คอยให้บริการอาหารแก่นักท่องเที่ยวหลากหมายเมนู ทั้งกุ้งเผา ปลาเผา ซึ่งเป็นวัตถุดิบสด ๆ จากเกษตรกรในพื้นที่ นักท่องเที่ยวสามารถสั่งมาทานได้อย่างจุใจ นอกจากนี้บริเวณริมฝั่งของเขื่อนลำปาวยังมี "หาดดอกเกด" ชายหาดดินที่เปรียบเสมือนเป็นสวรรค์ชายหาดของคนกาฬสินธุ์ทีเดียว
8.หมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทยโคกโก่ง
หมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทโคกโก่ง ได้รับคัดเลือกจากจังหวัดให้เป็นหมู่บ้านนำร่องด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวผู้ไท เสน่ห์ของหมู่บ้านแห่งนี้อยู่ที่การดำรงรักษาวัฒนธรรมผู้ไทโคกโก่งแบบดั้งเดิมเอาไว้ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น ที่สื่อผ่านภาษา การแต่งกาย ดนตรี งานพื้นบ้าน และหัตถกรรมต่าง ๆ เป็นวัฒนธรรมแห่งวิถีชีวิตที่น่าสนใจและน่าค้นหา ที่นี่ยังมีบริการห้องพักแบบโฮมสเตย์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีชีวิตและประเพณีชาวบ้าน ได้ร่วมทานอาหารพร้อมกันกับชาวบ้าน และเดินป่าศึกษาธรรมชาติ เหล่านี้กลายเป็นเสน่ห์ที่ทำให้นักท่องเที่ยวต่างแวะเวียนเข้าไปยังหมู่บ้านนี้ไม่ขาดสาย

8.ตลาดโรงสี
     จุดเช็คอินแห่งใหม่ล่าสุดสำหรับคนอินเทรนด์ ตลาดโรงสีเป็นโรงสีข้าวเก่าที่เจ้าของปรับเปลี่ยนจนกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยมุมสวย ๆ และร้านอาหารอร่อย ๆ นับร้อยร้าน ด้วยความที่ตังอยู่ในตัวเมือง ตลาดโรงสีแห่งนี้จึงเต็มไปด้วยผู้คนในทุก ๆ วัน

ตลาดโรงสี เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 07.00-23.00 น. (ร้านอาหารส่วนใหญ่จะเปิดให้บริการตอนเย็นหลังห้าโมงเย็น)

9.วัดพุทธนิมิตภูค่าว
     วัดพุทธนิมิตภูค่าว  ตั้งอยู่บ้านนาสีนวล ตำบลสหัสขันธ์ ห่างจากตัวอำเภอสหัสขันธ์ประมาณ 7 กิโลเมตร  เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ไสยาสน์ตะแคงซ้าย ไม่มีเกตุมาลา เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป   นอกจากนี้ภายในวัดยังมีโบสถ์ที่ประดับตกแต่งสวยงาม และวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและพระเครื่องจำนวนมาก นอกจากนี้ภายในวัดยังมีอุโบสถไม้ที่วิจิตรงดงามโดยก่อสร้างจากไม้ ขนาด ใหญ่นำขึ้นมาจากใต้เขื่อนลำปาว หอพระเครื่องที่มีพระเครื่องประดับประดาตกแต่งไว้หลายแสนองค์  และพระมหาธาตุเจดีย์ที่ สร้างจากหินทรายเฉพาะยอดมหาธาตุเจดีย์มีมูลค่ากว่า 25 ล้านบาทมีทั้งทองคำ 30 กิโลกรัมและประดับตกแต่งด้วยเพชรนิลจินดา มากมาย  นอกจากนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากประเทศเนปาลด้วยซึ่งความสวยงามและ ความขลังของวัดแห่งนี้ทำให้มีประชาชนจำนวนมาก เดินทางมาท่องเที่ยวไม่ขาดสาย

10.หาดดอกเกด
     สถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ ยอดนิยมประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวอันซีนของภาคอีสาน เหมาะมาเที่ยวพักผ่อนทอดอารมณ์ในช่วงวันหยุดยาว ท่ามกลางบรรยากาศของธรรมชาติริมแม่น้ำที่สงบงาม และหาดทรายขาวทอดยาวริมทะเลสาบเขื่อนลำปาวตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งเขื่อนลำปาวทางด้านทิศตะวันออกของเรือนรับรองโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว
ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีพื้นที่ประมาณ 25 ไร่ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2520 เดิมเป็นหาดสำหรับจอดเรือ โดยนายช่างนุกูล ทองทวี หัวหน้าโครงการในขณะนั้นได้ปรับปรุงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มาของชื่อ หาดดอกเกด เนื่องมาจากมีต้นการะเกด ไม้พื้นเมืองปลูกเป็นจำนวนมาก ยามออกดอกจะส่งกลิ่นหอมทั่วหาด โดยหาดดอกเกดมีลักษณะเป็นหาดเนินดินลดหลั่นลงจรดถึงเขื่อนลำปาว มีความกว้างขวางพอสมควรปัจจุบันได้ปรับปรุงให้เป็นหาดทรายน้ำจืดที่มีความสวยงาม สถานที่พักผ่อนหย่อนใจเหมาะมาท่องเที่ยวได้ทุกฤดู โดยมีศาลาพักร้อนซุ้มดอกเห็ดตั้งเรียงรายแวดล้อมไปด้วยสวนหย่อม ปลูกพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับรอบบริเวณ โดยสามารถเช่าเรือนั่งชมทิวทัศน์ หรือลงเล่นน้ำริมเขื่อนได้ พร้อมชิมอาหารขึ้นชื่อของจังหวัดกาฬสินธุ์

11.พุทธสถานภูสิงห์
     ตั้งอยู่บนยอดเขาภูสิงห์ ข้างบนเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย นามว่า "พระพรหมภูมิปาโล" อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวกาฬสินธุ์ มีลักษณะสง่างามและสวยงามมากที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย ดังจะเห็นว่าเมื่อแลไปที่พระพักตร์จะมีลักษณะอิ่มเอิบ พระเนตรสองข้างเปี่ยมไปด้วยเมตตา ทำให้คนที่มากราบไว้ต่างพลอยรู้สึกสบายใจอย่างบอกไม่ถูก ท่ามกลางบรรยากาศโดยรอบบริเวณขององค์พระพุทธรูปที่มีความสงบร่มรื่น สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ได้โดยรอบ ทุกปีจะมีพุทธศาสนิกชนร่วมทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะในวันออกพรรษา โดยจะมีพระภิกษุเดินลงมาจากวัดพุทธาวาส ซึ่งตั้งอยู่ภูเขาภูสิงห์เพื่อมารอรับบิณฑบาตจากพุทธศาสนิกชนทั่วไป

12.วนอุทยานภูแฝก
     ตั้งอยู่ที่ตำบลช้างแล่น ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดงห้วยฝา เป็นแหล่งพบรอยเท้าไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยถูกค้นพบบนพลาญหินที่เป็นทางน้ำของห้วยน้ำยัง มีลักษณะเป็นรอยเท้าฝังอยู่ในผิวหน้าของชั้นหินทรายที่แกร่งของหมวดหินพระวิหาร ซึ่งตามลำดับชั้นหินจะวางตัวอยู่ใต้ชั้นหินของหมวดหินเสาขัว และเป็นชั้นหินที่พบกระดูกไดโนเสาร์มากที่สุดของประเทศไทย นอกจากนี้ภายในวนอุทยานภูแฝกยังปรากฏรอยเท้าสัตว์โบราณอีกเป็นจำนวนมากบนลานหิน ทั้งยังมีบ่อน้ำแร่ ซึ่งอยู่บริเวณด้างล่างของภูแฝก มีน้ำแร่ไหลตลอดทั้งปี รวมถึงยังมีเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติและชมทิวทัศน์อันสวยงามอีกด้วย

13.วัดวังคำ
     วัดวังคำ ตั้งอยู่ที่บ้านนาวี อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ถือเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์กที่ต้องมาเยือนเมื่อมาเที่ยวกาฬสินธุ์ เพราะเป็นโบราณสถานที่งดงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านช้าง ได้รับอิทธิพลต้นแบบจากวัดเชียงของ หลวงพระบาง ประเทศลาว ภายในมีสถานที่สำคัญ ได้แก่ หอสวดมนต์ สิมไทเมิงวัง อุบมุง พระธาตุเจ้ากู เฮินเย้อ และอาฮามไทเมิงบก เป็นต้น ซึ่งการเข้ามาเยี่ยมชมนักท่องเที่ยวต้องแต่งกายให้สุภาพ ผู้หญิงไม่ควรนุ่งสั้น และแนะนำว่าให้ลองไปเที่ยวช่วงเย็น ๆ รับรองว่าคุณจะต้องทึ่งกับความสวยงามทางสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตที่แสนเรียบง่ายของชาวภูไท

14.น้ำตกผานางคอย

15.ผาเสวย

16.ทุ่งทานตะวันสีทองหนองทึง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น