ประวัติความเป็นมา

     


     สมัยกรุงธนบุรีประมาณ พ.ศ. 2310 พระเจ้าองค์เวียนดาแห่งนครเวียงจันทน์ ได้สิ้นพระชนม์ โอรสท้าวเพี้ยเมืองแสนได้ยกกองทัพเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์และได้สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบแทนทรงพระนามว่า พระเจ้าศิริบุญสาร

     พ.ศ. 2320 ท้าวโสมพะมิตร และอุปฮาดเมืองแสนฆ้องโปง เมืองแสนหน้าง้ำ เกิดขัดใจกับพระเจ้าศิริบุญสารจึงรวบรวมผู้คนอพยพจากดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงข้ามมาตั้งบ้านเรือน บริเวณลุ่มน้ำก่ำ
แถบบ้านพรรณา (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร)

ต่อมาท้าวศิริบุญสารได้ยกกองทัพติดตามมา ท้าวโสมพะมิตรจึงอพยพต่อไปโดยแยกเป็น 2 สาย คือ

สายที่ 1 เมืองแสนหน้าง้ำเป็นหัวหน้า อพยพไปทางทิศตะวันออก สมทบกับพระวอหลบหนีไปจนถึงนครจำปาศักดิ์ขอพึ่งบารมีของพระเจ้าหลวงแห่งนครจำปาศักดิ์ และตั้งบ้านเรือน ณ ดอนค้อนก่อง ต่อมาเรียกว่า ค่ายบ้านดู่บ้านแก ในปี พ.ศ. 2321 พระเจ้าศิริบุญสาร ให้เพี้ยสรรคสุโภย ยกกองทัพมาปราบพระวอตายในสนามรบ ผู้คนที่เหลือจึงอพยพไปอยู่ในเกาะกลางลำแม่น้ำมูล ชื่อว่า ดอนมดแดง
(ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี)

สายที่ 2 มีท้าวโสมพะมิตรเป็นหัวหน้า ได้อพยพข้ามสันเขาภูพานลงมาทางใต้ และตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านกลางหมื่น ต่อมาท้าวโสมพะมิตรได้ส่งท้าวตรัยและคณะออกเสาะหาชัยภูมิที่จะสร้างเมืองใหม่ใช้เวลาประมาณปีเศษ จึงพบทำเลที่เหมาะสมคือบริเวณลำน้ำปาวและเห็นว่าแก่งสำโรงชายสงเปลือยมีดินน้ำอุดมสมบูรณ์ จึงอพยพผู้คน มาตั้งบ้านเรือนและได้จัดตั้งศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

พ.ศ. 2336 ท้าวโสมพะมิตรได้นำเครื่องบรรณาการ คือ กาน้ำสัมฤทธิ์ เข้าถวายสมามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี และขอตั้งบ้านแก่งสำโรง ขึ้นเป็นเมืองได้รับพระราชทานว่า กาฬสินธุ์ และได้แต่งตั้งให้ ท้าวโสมพะมิตรเป็น พระยาชัยสุนทร

พ.ศ. 2437 สมัยพระยาชัยสุนทร (ท้าวเก) ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาล มี มณฑล อำเภอ ตำบล และให้เมืองกาฬสินธุ์ เป็น อำเภออุทัยกาฬสินธุ์ ขึ้นกับจังหวัดร้อยเอ็ด

วันที่ 1 สิงหาคม 2456 ได้ยกฐานอำเภออุทัยกาฬสินธุ์เป็น จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้มีอำนาจปกครอง อำเภออุทัยกาฬสินธุ์ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอกมลาไสย และอำเภอยางตลาด โดยให้ขึ้นต่อมณฑลร้อยเอ็ด

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2474 จังหวัดกาฬสินธุ์ถูกยุบเป็นอำเภอ ขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม และ 1 ตุลาคม 2490 ได้ยกฐานะเป็น จังหวัดกาฬสินธุ์ จนถึงปัจจุบัน

การตั้งเมืองกาฬสินธุ์ 
     กลุ่มเจ้าโสมพะมิตเข้าไปตั้งถิ่นฐานบริเวณบ้านผ้าขาว บ้านพันนา ในลุ่มน้ำสงคราม บริเวณใกล้พระธาตุเชิงชุมในเขตจังหวัดสกลนครปัจจุบัน ขณะนั้นมีไพร่พลประมาณ ๕,๐๐๐ คนเศษ ต่อมาได้อพยพไพร่พลของตนข้ามเทือกเขาภูพานไปอาศัยอยู่ที่บ้านกลางหมื่น (ปัจจจุบันอยู่ในตำบลกลางหมื่น อำเภอเมือง ฯ )ต่อมาได้อพยพไปอยู่บริเวณแก่งสำเริง ริมแม่น้ำปาว ซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวจังหวัดกาฬสินธุ์ในปัจจุบัน แล้วได้ลงไปเฝ้า ฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่กรุงเทพ ฯ ขอพระราชทานตั้งเมืองทำราชการขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ฯ ขอพระราชทานตั้งเมือง ในปี พ.ศ.๒๓๒๕ เจ้าโสมพะมิตได้ส่งบรรณาการต่อกรุงเทพ ฯ โดยผ่านทางเวียงจันทน์ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๓๖ เจ้าโสมพะมิตได้ลงไปกรุงเทพ ฯ ขอพระราชทานตั้งเมือง และได้มีพระบรมราชโองการ ฯ ยกฐานะบ้านแก่งสำเริง ขั้นเป็นเมืองกาฬสินธุ์ และโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าโสมพะมิตเป็นที่พระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ต่อมาถึงปี พ.ศ.๒๓๔๕ ได้มอบให้ท้าวหมากแพง บุตรพระอุปชาเป็นผู้ว่าการเมืองกาฬสินธุ์ต่อมา อาณาเขตเมืองกาฬสินธุ์ ได้กำหนดไว้กว้าง ๆ คือทิศเหนือตั้งแต่แม่น้ำพองข้างเหนือมาตกแม่น้ำชีข้างตะวันตก ทิศตะวันออกตั้งแต่ลำน้ำพองตัดลัดไปห้วยไพรธาร ไปเขาภูทอกศอกดาว ตัดไปบ้านผ้าขาวพันนา บ้านเดิมยอดลำน้ำสงครามตกแม่น้ำโขงเขตฝ่ายตะวันออก ต่อแดนเมืองนครพนม และเมืองมุกดาหาร ผ่านภูเขาภูพานตัดมาถึงภูหลักทอดยอดยังแต่ยอดยังตกแม่น้ำลำพระชัย เป็นเขตข้างใต้ ทิศตะวันตกลำน้ำพระชัยต่อแดนเมืองร้อยเอ็ด และต่อแดนเมืองยโสธร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น